๑๑/๓๐/๒๕๕๐

กลยุทธ์การสืบค้นข้อมูล/สารนิเทศบน INTERNET




กลยุทธ์การสืบค้นข้อมูล/สารนิเทศบน INTERNET

ปกติแล้วการเข้า Website เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการในทันทีทันใดนั้น วิธีการที่ดีที่สุดคือ เราทราบ URL ของ Web Page นั้น ๆ แล้วป้อนเข้าไปในช่อง Address ของ Web Browser ซึ่งเป็น URL ของ Website แต่มีบ่อยครั้งที่เราไม่ทราบ URL พวกนี้ แต่ต้องการหาข้อมูลที่ต้องการให้ได้อย่างรวดเร็ว ในที่นี้จะแนะนำเทคนิคการค้นหาข้อมูลใน Internet โดยใช้ Search Engine จาก Web site ที่เปิดให้บริการค้นหาข้อมูลบน Intenet

Search Engine ที่นิยมใช้

Search Engine ที่เป็นที่นิยมของคนทั่วโลก ได้แก่http://www.google.com http://www.altavista.com http://www.yahoo.comhttp://www.infoseek.com http://www.lycos.com http://www.webcrawler.com

สำหรับ Search Engine ที่สามารถค้นหาคำภาษาไทย และค้นหา Web Site ของไทย ได้แก่http://www.google.com http://www.siamguru.com http://www.thaiseek.com http://search.cscoms.com/

ในการสืบค้นข้อมูลบน INTERNET โดยทั่วไปมีกลยุทธ์การสืบค้น (Search strategies) อยู่ 2 ระดับ คือ
1. กลยุทธ์การสืบค้นข้อมูลเบื้องต้น (Basic search strategies)

2. กลยุทธ์การสืบค้นข้อมูลขั้นสูง (Advanced search strategies)

1. กลยุทธ์การสืบค้นข้อมูลเบื้องต้นที่ใช้กันแพร่หลาย ได้แก่

1.1 การใช้คำ (A word)

1.2 การใช้วลี (A phrase)

1.3 การใช้วลีร่วมกับสัญลักษณ์บางอย่าง (A phrase & notations)

1.4 การใช้ประโยคคำถาม (A question)

1.5 การใช้ชื่อเฉพาะ (A specific name)

1.6 การใช้การเชื่อมโยงจากไซต์อื่นมายังไซต์ที่ผู้ใช้กำลังสืบค้น (Links to this URL)

1.7 การใช้ตรรกะบูลีน (Boolean operators/Boolean expressions) or, and, not

2. กลยุทธ์การสืบค้นขั้นสูง ใช้เมื่อผู้ใช้ต้องการค้นข้อมูลที่ลึกลงไปในเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือ หัวข้อใดหัวข้อหนึ่ง ผู้ใช้จำเป็นต้องเรียนรู้กลยุทธ์ในการสืบค้น เฉพาะสาขาวิชา หรือ เฉพาะเรื่องบน INTERNET โดยใช้ไซต์อื่นๆ นอกเหนือจาก Web sites เช่น Gopher sites, FTP sites, Telnet sites เป็นต้น

การสืบค้นข้อมูลด้วย Search Engine Search Engine คืออะไร ในโลกของ Internet ข้อมูลมีมากมายเหลือเกิน ถ้าจะใช้เวลาในการอ่านทุกสิ่งบน Internet คงต้องใช้เวลาหลายชั่วอายุคน จริงแล้วเราคงไม่มีควมสนใจในทุกเรื่อง แต่คงสนใจเฉพาะเรื่องที่เราสนใจเท่านั้น จึงมีคนคิดเครื่องมือในการช่วยค้นหาข้อมูลที่ต้องการ นั้นก็คือ Search Engine นั่นเอง

การค้นหาข้อมูลมีกี่วิธี ?

1. การค้นหาในรูปแบบ Index Directory

2. การค้นหาในรูปแบบ Search Engine

การค้นหาในรูปแบบ Index Directory

วิธีการค้นหาข้อมูลแบบ Index นี้ข้อมูลจะมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากกว่าการค้นหาข้อมูลด้วย วิธีขิง Search Engine โดยมันจะถูกคัดแยกข้อมูลออกมาเป็นหมวดหมู่ และจัดแบ่งแยก Site ต่างๆออก เป็นประเภท สำหรับวิธีใช้งาน คุณสามารถที่จะ Click เลือกข้อมูลที่ต้องการจะดูได้เลยใน Web Browser จากนั้นที่หน้าจอก็จะแสดงรายละเอียดของหัวข้อปลีกย่อยลึกลงมาอีกระดับหนึ่ง ปรากฏขึ้นมาให้เราเลือกอีก ส่วนจะแสดงออกมาให้เลือกเยอะแค่ไหนอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดของฐานข้อมูลใน Index ว่าในแต่ละประเภท จัดรวบรวมเก็บเอาไว้มากน้อยเพียงใด เมื่อคุณเข้าไปถึงประเภทย่อยที่คุณสนใจแล้ว ที่เว็บเพจจะแสดงรายชื่อของเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ ประเภทของข้อมูลนั้นๆออกมา หากคุณคิดว่าเอกสารใดสนใจหรือต้องการอยากที่จะดู สามารถ Click ลงไปยัง Link เพื่อขอเชื่อต่อทางไซต์ก็จะนำเอาผลของข้อมูลดังกล่าวออกมาแสดงผลทันที นอกเหนือไปจากนี้ ไซต์ที่แสดงออกมานั้นทางผู้ให้บริการยังได้เรียบเรียงโดยนำเอา Site ที่มีความเกี่ยว ข้องมากที่สุดเอามาไว้ตอนบนสุดของรายชื่อที่แสดง

การค้นหาในรูปแบบ Search Engine

วิธีการอีกอย่างที่นิยมใช้การค้นหาข้อมูลคือการใช้ Search Engine ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้ หลักการทำงานของ Search Engine จะแตกต่างจากการใช้ Indexลักษณะของมันจะเป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบน Internet ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้นของความสำคัญ การใช้งานจะเหมือนการสืบค้นฐานข้อมูล อื่นๆคือ คุณจะต้องพิมพ์คำสำคัญ (Keyword) ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่คุณต้องการจะเข้าไป ค้นหานั้นๆเข้าไป จากนั้น Search Engine ก็จะแสดงข้อมูลและ Site ต่างๆที่เกี่ยวข้องออกมา

ข้อแตกต่างระหว่าง Index และ Search Engine

คำตอบก็ คือวิธีในการค้นหาข้อมูลแบบ Index เค้าจะใช้คนเป็นผู้จัดรวบรวมและทำระบบฐานข้อมูลขึ้นมา ส่วนแบบ Search Engine นั้นระบบฐานข้อมูลของมันจะได้รับการจัดสร้างโดยใช้ Software ที่มี หน้าที่เกี่ยวกับงานทางด้านนี้โดยเฉพาะมาเป็นตัวควบคุมและจัดการ ซึ่งเจ้า Software ตัวนี้จะมี ชื่อเรียกว่า Spiders การทำงานข้องมันจะใช้วิธีการเดินลัดเลาะไปตามเครือข่ายต่างๆที่เชื่อมโยงถึงกันอยู่เต็มไปหมดใน Internet เพื่อค้นหา Website ที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ รวมทั้งยังสามารถตรวจสอบหาความเปลี่ยนแปลงของ ข้อมูลใน Site เดิมที่มีอยู่ ว่าที่ใดถูกอัพเดตแล้วบ้าง จากนั้นมันก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่สำรวจเข้ามา ได้เก็บใส่เข้าไปในฐานข้อมูลของตนอัตโนมัติ ยกตัวอย่างของผู้ให้บริการประเภทนี้เช่น Excite , Lycos Infoserch เป็นต้น การค้นหาด้วยวิธี Search Engine นั้นมักจะได้ผลลัพธ์ออกมากว้างๆชี้เฉพาะเจาะจงได้ยาก บางครั้งข้อมูลที่ ค้นหามาได้อาจมีถึงเป็นร้อยเป็นพัน Site แล้วมีใครบ้างหละที่อยากจะมานั้งค้นหาและอ่านดูที่จะเพจ ซึ่งคง ต้องเสียเวลาเป็นวันๆแน่ ซึ่งก็ไม่รับรองด้วยว่าคุณจะได้ข้อมูลที่คุณต้องการหรือไม่ ดังนั้นจิงมีหลักในการค้น หา เพื่อให้ได้ข้อมูลใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งจะขอกล่าวในตอนหลัง

หลักการค้นหาข้อมูลของ Search Enine

สำหรับหลักในการค้นหาข้อมูลของ Search Engine แต่ละตัวจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับว่าทางศูนย์บริการต้องการจะเก็บข้อมูลแบบไหน แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีกลไกใน การค้นหาที่ใกล้เคียงกัน หากจะแตกต่างก็คงจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพเสียมากกว่า ว่าจะมีข้อมูล เก็บรวบรวมไว้อยู่ในฐานข้อมูลมากน้อยขนาดไหน และพอจะนำเอาออกมาบริการให้กับผู้ใช้ ได้ตรงตามความต้องการหรือเปล่า ซึ่งลักษณะของปัจจัยที่ใช้ค้นหาโดยหลักๆจะมีดังนี้

1. การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ

2. การค้นหาจากคำที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจอยู่ทางด้าน ซ้ายบนของหน้าต่างที่แสดง )

3. การค้นหาจากคำสำคัญหรือคำสั่ง keyword (อยู่ใน tag คำสั่งใน html ที่มีชื่อว่า meta)

4. การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ site

5. ค้นหาคำในหน้าเว็บเพจด้วย Browser การค้นหาคำในหน้าเว็บเพจนั้นจะใช้สำหรับกรณีที่คุณเข้าไปค้นหาข้อมูลที่เว็บเพจใด เว็บเพจหนึ่ง แล้วภายในมีข้อความปรากฏอยู่เต็มไปหมด จะนั่งไล่ดูทีละบรรทัดคงไม่สะดวก ในลักษณะนี้เราใช้ใช้ browser ช่วยค้นหาให้ ขึ้นแรกให้คุณนำ mouse ไป click ที่ menu Edit แล้วเลือกบรรทัดคำสั่ง Find in Page หรือกดปุ่ม Ctrl + F ที่ keyboard ก็ได้ จากนั้นใส่คำที่ต้องการค้นหาลงไปแล้วก็กดปุ่ม Find Next โปรแกรมก็จะวิ่งหาคำดังกล่าว หากพบมันก็จะกระโดดไปแสดงคำนั้นๆ ซึ่งคุณสามารถกดปุ่ม Find Next เพื่อค้นหาต่อได้ อีกจนกว่าคุณจะพบข้อมูลที่ต้องการ

การค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine

Click ที่ปุ่ม Serch บนแถบเครื่องมือหรือ click ที่ menu Edit แล้วเลือกคำสั่ง Search Internet ก็จะปรากฏหน้าจอ เลือก Search Engine ที่คุณต้องการ ใส่คำที่คุณต้องการจะค้นหาลงไปในช่องยาวๆ ที่มีสร้างเอาไว้ให้ คลิ๊กที่ปุ่ม Seek (กรณีเลือก Search Engine ที่อื่นอาจจะไม่ได้ใช้คำนี้ก็ได้แล้ว แต่ที่คุณเลือก โปรแกรมจะเริ่มค้นหาคำนั้นๆให้ ตอนนี้คุณก็รอสักพักนึงก่อน จากนั้นรายชื่อของเว็บเพจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลที่ระบุจะถูกแสดงออกมาในรูปแบบของลิ้งค์พร้อมคำอธิบายประกอบนิดหน่อย ให้เราอ่านเพื่อใช้ในการตัดสินใจว่ามันเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่เราต้องการหรือเปล่า ส่วนใหญ่ข้อมูลที่พบมีมากจนเกินกว่าที่จะแสดงให้เห็นหมดในหน้าเดียว มันจะมีตัวแบ่งหน้าให้เราทางด้าน ล่างสำหรับเลือกไปดูรายละเอียดส่วนอื่นๆที่เหลือในหน้าถัดๆไป แต่โดยมากแล้วข้อมูลที่ใกล้เคียง กับคำที่เราต้องการมากที่สุดจะอยู่ในช่วงต้นๆ ของรายการแรกที่ Search Engine นั้นๆตรวจพบ

เทคนิค 8 ประการที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล

ในการค้นหาข้อมูลด้วย Search Engine ส่วนใหญ่แล้วปัญหาที่ผู้ใช้งานทั่วไปมักจะพบเห็น หรือประสบอยู่เสมอๆก็คงจะหนีไปไม่พ้นข้อมูลที่ค้นหาได้มีขนาดมากจนเกินไป ดังนั้นเพื่อ ความสะดวกในการใช้งานคุณจึงน่าที่จะเรียนรู้เทคนิคต่างๆเพื่อช่วยลดหรือจำกัดคำที่ค้น หาให้แคบลงและตรงประเด็นกับเรามากที่สุด

1. เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่คุณต้องการมากที่สุด ส่วนจะเลือกใช้วิธีไหนก็ตามแต่คุณจะเห็นว่า เหมาะสม ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณต้องการจะค้นหาข้อมูลที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ชี้ เฉพาะเจาะจง ก็ควรเลือกบริการสืบค้นข้อมูลแบบ Index อย่างของ yahoo เพราะ โอกาสที่จะเจอนั้น เปอร์เซ็นต์สูงกว่าจะมานั่งสุ่มหาโดยใช้วิธีแบบ Search Engine

2. ใช้คำมากกว่า 1 คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา เพราะจะได้ผลลัพท์ที่มีขนาด แคบลงและชี้เฉพาะมากขึ้น (ย่อมจะดีกว่าหาคำเดียวโดดๆ)

3. ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เช่นการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของ ภาพยนตร์ก็น่าที่จะเลือกใช้ Search Engine ที่ให้บริการใหล้เคียงกับเรื่องพวกนี้ เพราะผลลัพท์ที่ได้น่าจะเป็นที่น่าพอใจกว่า

4. ใส่เครื่องหมายคำพูดครอบคลุมกลุ่มคำที่ต้องการ เพื่อบอกกับ Search Engine ว่าเรา ต้องการผลการค้นหาที่มีคำในกลุ่มนั้นครบและตรงตามลำดับที่เราพิมพ์ทุกคำ เช่น "free shareware" เป็นต้น

5. การขึ้นต้นของตัวอักษรตัวเล็กเท่ากันหมด Search Engine จะเข้าใจว่าเราต้องการ ให้มันค้นหาคำดังกล่าวแบบไม่ต้องสนใจว่าตัวอักษรที่ได้จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นหากคุณต้องการอยากที่จะให้มันค้นหาคำตรงตามแบบที่เขียนไว้ก็ให้ใช้ตัว อักษรใหญ่แทน

6. ใช้ตัวเชื่อมทาง Logic หรือตรรกศาสตร์เข้ามาช่วยค้นหา มีอยู่ 3 ตัวด้วยกันคือ - AND สั่งให้หาโดยจะต้องมีคำนั้นๆมาแสดงด้วยเท่านั้น! โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องติดกัน เช่น phonelink AND pager เป็นต้น - OR สั่งให้หาโดยจะต้องนำคำใดคำหนึ่งที่พิมพ์ลงไปมาแสดง - NOT สั่งไม่ให้เลือกคำนั้นๆมาแสดง เช่น food and cheese not butter หมายความว่า ให้ทำการหาเว็บที่เกี่ยวข้องกับ food และ cheese แต่ต้องไม่มี butter เป็นต้น

7. ใช้เครื่องหมายบวกลบคัดเลือกคำ + หน้าคำที่ต้องการจริงๆ - (ลบ)ใช้นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ () ช่วยแยกกลุ่มคำ เช่น (pentium+computer)cpu

8. ใช้ * เป็นตัวร่วม เช่น com* เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าส่วนด้านท้ายเป็น อะไรไม่สนใจ *tor เป็นการให้หาคำที่ลงท้ายด้วย tor ด้านหน้าจะเป็นอะไรไม่สนใจ

การใช้ Advanced Search

ในหลายกรณีที่ไม่อาจหาคำที่เฉพาะเจาะจงในการค้นหาได้ จึงจำเป็นต้องใช้หลาย ๆ คำประกอบกัน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการ Search Engine ส่วนมากจะรองรับการค้นหา โดยใช้คำสั่งที่เรียกว่า Boolean Operator ต่อไปนี้

AND เป็นการบังคับการค้นหา โดยให้ผลลัพธ์ที่ออกมามีคำทั้งหมดที่เราใส่ไว้ เช่น เมื่อทำการค้นหาคำว่า cloning AND dolly ผลลัพธ์ที่ออกมาต้องมีทั้งคำว่า cloning และ dolly ด้วย โดยปกติแล้ว Search Engine ทั่วไปมักใช้ AND เป็นกฎเกณฑ์ในการค้นหาอยู่แล้วเมื่อใส่คำมากกว่า 1 คำในการค้นหา ดังนั้นเมื่อค้นหาคำว่า cloning dolly จะให้ผลเหมือนกับ cloning AND dolly

OR เป็นการบังคับการค้นหาให้ผลลัพธ์มีทั้งคำที่ 1 หรือ คำที่ 2 (หรือทั้ง 2 คำ) กรณีนี้ มีการใช้ไม่มากนัก เนื่องจากจะได้ผลลัพธ์มากกว่าการใช้ AND แต่หลาย Search Engine ก็รองรับคำสั่งนี้

NOT เป็นการระบุให้ Search Engine ค้นหาคำโดยตัดคำที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป เช่น กรณีที่ค้นหาคำว่า cloning NOT dolly ผลลัพธ์ที่ได้จะมีคำว่า cloning แต่ไม่มีคำว่า dolly

* ใช้ในการหาเฉพาะส่วนของคำ ซึ่งทำได้เฉพาะในบาง Search Engine เท่านั้น Phrase เป็นการค้นหาโดยใช้วลี เช่น “genetic engineering” ผลลัพธ์ที่ได้ ต้องมีคำที่ 1 ตามด้วยคำที่ 2 เท่านั้น

วิธีการใช้คำสั่ง Boolean Operator เหล่านี้อาจแตกต่างกันออกไปในแต่ละ Search Engine ผู้ใช้บริการควรอ่านวิธีการค้นหาของ Search Engine แต่ละแห่งก่อนใช้งาน ปัจจุบันการค้นหาข้อมูลในลักษณะ Advanced Search นี้มักเป็นลักษณะให้เลือกเติมคำเฉพาะเองด้วยเงื่อนไขต่าง ๆ

แหล่งที่มาของข้อมูล : http://arc.kru.ac.th/1631303/search2.html

http://www.vcharkarn.com/include/vcafe/showkratoo.php?Pid=31370

http://www.cc.mahidol.ac.th

๑๑/๐๖/๒๕๕๐

e-Learning กับการเรียนการสอน


e-Learning เป็นการเรียนการสอนผ่านทางคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตการศึกษาที่นิยมกันมากในขณะนี้ คือ Web Base Learning การเรียนแบบนี้ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหนก็ได้ เวลาใด ก็ได้ไม่มีข้อจำกัด ผู้สอนเป็นผู้สร้างเนื้อหาวิชาโดยมีระบบบริหารจัดการรายวิชา (LMS : Learning Management System) ที่สามรถจัดการ ปรับปรุง ควบคุม สำรองข้อมูล สนับสนุนข้อมูล ติดต่อ สื่อสาร บันทึกสถิติผู้เรียน และตรวจคะแนนผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนและผู้สอน สามารถเรียกใช้เครื่องมือต่าง ๆ เหล่านี้ผ่านเว็บโดยใช้โปรแกรม web browser มาตราฐานทั่วไป ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนมีลักษณะดังต่อไปนี้

1. การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education) เป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์เทคโนโลยีหลายๆ อย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การประชุมทางไกลชนิดภาพและเสียง รวมถึงเอกสารต่างๆ เพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ห่างไกล
2. แบบมหาวิทยาลัยออนไลน์ เรียกว่า Online University หรือ Virtual University เป็นระบบการเรียนการสอนที่อยู่บนเครือข่ายในรูปเว็บเพจ มีการสร้างกระดานถาม-ตอบ อิเล็กทรอนิกส์
(Web Board)
3. การเรียนการสอนผ่านทางอินเทอร์เน็ตและเว็บเพจ (Online Learning, Internet Web Base Education) เป็นการนำเสนอเนื้อหาและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนโดยเน้นสื่อประสมหลายๆ อย่างเข้าด้วยกัน มีการสร้างสภาวะแวดล้อมที่ประสานงานกัน ให้ผู้เรียนและผู้สอนเข้าถึงฐานข้อมูลหลายชนิดได้ โดยผู้เรียนต้องควบคุมจังหวะการเรียนรู้ด้วยตนเองให้เป็น และเลือกเวลา สถานที่ในการเรียนรู้
4. โครงข่ายการเรียนการสอนแบบอะซิงโครนัส (Asynchronous Learning Network: ALN) เป็นการเรียนการสอนที่ต้องมีการติดตามผลระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน โดยใช้การทดสอบบทเรียน เป็นตัวโต้ตอบ

เครื่องมือช่วยเหลือการเรียนการสอนแบบ e-Learning
เทคโนโลยีการศึกษารูปแบบใหม่ที่ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต จะช่วยให้การเรียนการสอนแบบ e-Learning ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด เราสามารถนำซอฟแวร์ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนเว็บเพจ การส่งอีเมล การใช้ Search Engine Newsgroup การใช้ http, ftp หรือ โปรแกรมทางด้าน Authoring Tool เช่น FrontPage, Macromedia Dreamweaver เป็นต้น การสร้าง Web Board ไว้ถาม-ตอบ
สิ่งที่ควรคำนึงถึงการเรียนการสอนแบบ e-Learning ในบ้านเราก็คือ คน องค์ประกอบที่สำคัญที่ จะทำให้รูปแบบพัฒนาไปในทิศทางใด จากกรณีศึกษาโรงเรียนจิตรลดา ผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายประถมศึกษา อาจารย์มีนา รอดคล้าย บอกว่า ระยะแรกๆ ต้องให้ความรู้ทางเทคโนโลยีแก่บุคลากร โดยเฉพาะ ผู้บริหารต้องให้ท่านเห็นความสำคัญและเข้าใจในเทคโนโลยีว่าไม่ได้ยาก อำนวยความสะดวกสบายให้เราอย่างไร เป็นต้น อันดับต่อมาก็คือ ผู้พัฒนาหลักสูตรและเนื้อหาวิชา ผู้พัฒนาระบบ ผู้ช่วยสอนและที่ปรึกษาทางการเรียน

ประโยชน์ที่ได้รับ

1.เพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน โดยใช้สื่ออุปกรณ์ และคลังความรู้ที่มีอยู่บนอินเตอร์เน็ต เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนของครูและนักเรียน
2.เกิดเครือข่ายความรู้ ที่สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และวัฒนธรรมซึ่งกันและกันบนอินเตอร์เน็ต ข้อมูลจะมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ สะดวกและรวดเร็ว
3.ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สามารถสืบค้นวิชาความรู้ไดด้วยตนเอง โดยมีการให้คำปรึกษาและชี้แนะโดยครู/อาจารย์
4.ลดช่องว่างระหว่างการศึกษาในเมืองและชนบท สร้างความเท่าเทียมกันและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้เด็กชนบทได้รู้เท่าทัน เพื่อสนับสนุนนโยบายและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีการศึกษาและเครือข่ายสารสนเทศ เพื่อความสอดคล้องและสนับสนุน การปฏิรูปการศึกษาตาม พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542


แนวโน้มเทคโนโลยีการศึกษา


ประเทศไทยได้เตรียมความพร้อมสำหรับภาคการศึกษา โดยมีการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีโดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลต่อภาคการศึกษา หรือที่เรียกว่า เทคโนโลยีการศึกษา (Education Thechnology) ซึ่งเน้นการให้ความสะดวกในด้านการบริหารจัดการและให้เกิดความคล่องตัวต่อการ ดำเนินงานไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน จึงได้วางนโยบาย e-Thailand ขึ้นเพื่อเปิดประตูสู่การพัฒนา ประทศ ทั้งนี้ได้เน้นนโยบายหลักทางด้านสังคมเพื่อลดช่องว่างทางสังคม เปิดเสรีทางการค้าอิเล็กทรอนิกส์ นโยบายระหว่างประเทศ ผลักดัน โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ หนึ่งในนโยบายของ e-Thailand คือ การส่งเสริมพัฒนาสังคม สิ่งที่ควรจะคำนึงถึงก็ คือ e-Education เป็นการให้การศึกษาแก่มนุษย์ให้มี ความรู้ความสามารถในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการศึกษาเพื่อนำมาปรับใช้ในทุกส่วนงานในวงการ ศึกษาที่ทันสมัยโดยใช้ระบบไอทีซึ่งมีการนำหลักการ 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้ คือ

1. e-MIS ด้านการบริหารงาน
เป็นการนำไปใช้ ด้านการบริหารงานและการจัดการศึกษา เน้นด้านการจัดพิมพ์เอกสาร ทำฐานข้อมูล การประมวลผล เพื่อจัดทำสารสนเทศทางการศึกษา สำหรับการประกอบการตัดสินใจของ ผู้บริหารในทุกระดับ
2. e-Learning
เป็นการนำไอทีไปใช้ในด้านการส่งเสริมประสิทธิภาพด้านการเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ เช่น การนำมัลติมีเดียมาใช้เป็นสื่อการสอนของครู/อาจารย์ให้นักเรียนเรียนรู้ค้นคว้าด้วยตนเอง ด้วยการเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การนำไอทีมาใช้เพื่อการเรียนการสอนของ e-Learning ในยุคปัจจุบัน เป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทั้งที่เป็นเครื่องเดียวเรียกว่า stand-alone หรือการเรียนผ่านเครือข่ายเชื่อมโยงสู่อินเตอร์เน็ต เพื่อการค้นคว้าหาข้อมูล แลกเปลี่ยนความรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งที่ผ่านมาเราใช้สื่อการเรียนการสอนในรูปแบบของสื่อประสม (Multimedia) ใช้ในการนำเสนอลงบนแผ่นซีดี-รอมโดยใช้ Authoring Tool ทั้งภาพและเสียงเพื่อเกิดการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) ให้กับผู้เรียน ซึ่งสื่อเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะได้รับความสนใจสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ปัญหาที่ประสบก็ คือ เนื้อหาที่มีอยู่ไม่ตรงตามหลักสูตร การศึกษานอกจากนี้ยังมีการละเมิดลิขสิทธิ์ทำให้ผู้ผลิตไม่สามารถพัฒนาสื่อได้อย่างมีคุณภาพ

ในระยะแรกๆ เราได้มีการใช้สื่อในหลายประเภทเพื่อการติดต่อรับ-ส่งข้อมูลทางด้านการศึกษาที่เรียกว่า การเรียนทางไกล แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

การเรียนการสอนทางไปรษณีย์ถือว่าเป็นยุคแรกเริ่มของการเรียนการสอนทางไกล มีการับ-ส่งบทเรียนผ่านทางไปรษณีย์ซึ่งจะต้องใช้ระยะเวลามากในการติดต่อกันแต่ละครั้ง จึงเป็นอุปสรรคอย่างมากในการเรียนรู้เพราะเอกสารอาจสูญหายระหว่างทางได้ การเรียนการสอนผ่านทางวิทยุกระจายเสียง เรามีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการศึกษาเป็นเครื่องมือที่เชื่อมต่อไปยังภูมิภาคทั้งที่เป็นของกระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย และสถาบันการศึกษาหลายแห่ง การเรียนการสอนผ่านทางโทรทัศน์และเครือข่ายดาวเทียมของกรมการศึกษานอกโรงเรียน กรมสามัญศึกษาที่ร่วมกับมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมไทยคม สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นวิธีการของการเรียนการสอนที่เราเคยใช้กันมาจนถึงปัจจุบันก็ยังมีการใช้อยู่ แต่ด้วยปัจจุบันไอทีเข้ามามีบทบาทอย่างมาก เราสามารถติดต่อกับคนทั้งโลก สามารถเข้าไปค้นหา ข้อมูลได้เพียงปลายนิ้วสัมผัสบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นแหล่งความรู้อันมหาศาล ด้วยวิทยาการเพื่อใช้ ในการพัฒนาองค์ความรู้ อันเป็นแหล่งทรัพยากรที่เปี่ยมด้วยคุณค่ามากมาย ดังนั้นการปรับรูปแบบการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning จึงเกิดขึ้น อีกทั้งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติยังสนับสนุนการเรียนการสอนแบบนี้อีกด้วย